วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

อุตสาหกรรมและธุรกิจที่น่าสนใจลงทุนในบรูไนฯ


                                     ภาพประกอบจาก : asean-focus.com
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ของบรูไนฯ มีมูลค่าประมาณ 51,200 ล้านเหรียญสหรัฐ และประชากรมีรายได้ต่อหัว 53,100 เหรียญสหรัฐ เศรษฐกิจของบรูไนฯ เป็นระบบตลาดเสรีภายใต้การดูแลของรัฐ รายได้หลักของภาคส่งออกของประเทศมาจากน้ำมันประมาณร้อยละ 48 และก๊าซธรรมชาติประมาณร้อยละ 43 สินค้าส่งออกหลักของบรูไนฯ คือ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ทำให้บรูไนฯ เกินดุลการค้ามาโดยตลอด สินค้าส่วนใหญ่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น อังกฤษ ไทย สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐเกาหลี ตามลำดับ สินค้า นำเข้าส่วนใหญ่มาจากสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย โดยเป็นสินค้าประเภทเครื่องจักรอุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ และสินค้าเกษตร เช่น ข้าวและผลไม้
บรูไนฯ เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนที่ไม่ได้รับการกล่าวถึงมากนักส่วนหนึ่งอาจ เป็นเพราะมีสถานะเป็นเพียงประเทศเล็ก ๆ ที่พึ่งพารายได้จากการส่งออกสินค้าเพียงไม่กี่รายการ จึงไม่ค่อยได้รับความสนใจมากเท่ากับประเทศสมาชิกประเทศอื่น ๆ แต่แท้จริงแล้วบรูไนฯ เป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงทั้งด้านการค้าและการลงทุน แม้มีพื้นที่ประเทศเพียง 5,765 ตารางกิโลเมตร ขนาดเล็กเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ แต่บรูไนฯ เป็นประเทศที่ร่ำรวยด้วยทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งสร้างรายได้เข้าประเทศถึงร้อยละ 95 ของมูลค่าส่งออกรวมของประเทศ หรือคิดเป็นกว่าร้อยละ 60 ของเศรษฐกิจบรูไนฯ ทั้งหมด
นอก จากนี้ บรูไนฯ ได้รับการจัดเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยมากที่สุดในเอเชีย การเมืองมีเสถียรภาพ ประกอบกับชาวบรูไนฯ ส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี และมีอัตราการรู้หนังสือสูงถึงร้อยละ 95 ของประชากรทั้งหมด เนื่องจากรัฐบาลบรูไนฯ สนับสนุนงบประมาณแก่ประชากรด้านการศึกษาโดย ไม่เสียค่าใช้จ่ายจนถึงระดับมหาวิทยาลัย ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้บรูไนฯ มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งที่เอื้อให้ผู้ประกอบการไทยใช้เป็นโอกาสในการเปิดตลาด การค้าการลงทุนจากการเปิดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้
โอกาสการลงทุน
บรูไนฯ ให้ความสำคัญกับการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อให้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนา เศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ โดยจัดตั้ง Brunei Economic Development Board (BEDB) เมื่อปี 2545 เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อลดการพึ่งพารายได้จากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่คาดการณ์ว่าจะ ลดปริมาณลงมากในอีก 20 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของบรูไนฯ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศภายใต้ Wawasan Brunei 2035 โดยมุ่งเน้นการรักษาระดับการจ้างงาน การเปิดตลาดธุรกิจและอุตสาหกรรมใหม่ และการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ เป็นต้น
บรูไนฯ อนุญาตให้ผู้ประกอบการต่างชาติเข้ามาลงทุนได้เกือบทุกสาขา รวมถึงอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นได้ถึงร้อยละ 100 ในทุกสาขา ยกเว้นอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรภายในประเทศและอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับความ มั่นคงทางอาหารแห่งชาติ ซึ่งยังต้องมีผู้ถือหุ้นภายในประเทศอย่างน้อยร้อยละ 30 ในสาขาการเกษตรประมง และการแปรรูปอาหาร อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำนิยามที่ชัดเจนว่าสาขาใดที่ต้องมีผู้ถือหุ้นภายในประเทศ ในด้านการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติเน้นการให้สิทธิพิเศษทางภาษี เช่น ภายใต้โครงการผู้บุกเบิก (The Pioneer Status Program) บริษัทจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลาถึง 8 ปี และได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ในโรงงาน
ทั้ง นี้ มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับบรูไนฯ มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญจากไทยไปยังบรูไนฯ ได้แก่ อุปกรณ์รถยนต์และส่วนประกอบ ข้าว อัญมณีและเครื่องประดับ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบน้ำตาลทราย ปูนซีเมนต์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และผลิตภัณฑ์ยาง ส่วนสินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากบรูไนฯ คือ น้ำมันดิบ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษผลิตภัณฑ์โลหะ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด



อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการลงทุน
ธุรกิจด้านอาหาร
- บรูไนฯ ตั้งเป้าหมายสู่การเป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารฮาลาลรายใหญ่ของโลก รวมทั้งสร้างแบรนด์อาหารฮาลาลของประเทศ นอกจากนี้ ประชากรบรูไนฯ ร้อยละ 66 นับถือศาสนาอิสลามส่งผลให้มีตลาดอาหารฮาลาลในประเทศขนาดใหญ่
- รัฐบาลบรูไนฯ ส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตรกรรม เนื่องจากปริมาณผลผลิตในประเทศไม่เพียงพอกับการบริโภค โดยเฉพาะการปลูกข้าว บรูไนฯ ตั้งเป้าเพิ่มผลผลิตข้าวให้ได้ร้อยละ 60 ของการบริโภคในประเทศภายในปี 2558
ธุรกิจยาและเภสัชกรรม
- บรูไนฯ ตั้งเป้าหมายสู่การเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมยาและเภสัชกรรมของภูมิภาค
- บรูไนฯ เริ่มกำหนดแนวทางและมาตรฐานด้านฮาลาลในอุตสาหกรรมยา ทั้งนี้ เมื่อปี 2553 บรูไนฯ ประสบความสำเร็จในการจัดตั้งโรงงานผลิตยามาตรฐานฮาลาลแห่งแรกของประเทศในเขต อุตสาหกรรม Lambak Kanan East Industrial Site
ธุรกิจปิโตรเคมี
- บรูไนฯ ได้ร่วมทุนกับนักลงทุนชาวญี่ปุ่นจัดตั้งโรงงานผลิตเมทานอลซึ่งมีกำลังการ ผลิต 850,000 ตันต่อปี และเริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2553 การจัดตั้งโรงงานดังกล่าวนับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงในบรูไนฯ
ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ
- บรูไนฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นลำดับต้น ๆ และตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศในภูมิภาค
อุปสรรคการลงทุน
- บรูไนฯ ขาดแคลนแรงงานทำให้ต้องจ้างแรงงานต่างชาติจำนวนมาก
- การขนส่งสินค้าทางเรือมีอุปสรรคมาก เนื่องจากเรือที่บรรทุกสินค้าไปบรูไนฯ มีสินค้าเฉพาะเที่ยวขาไป แต่ไม่มีสินค้าในเที่ยวขากลับ ประกอบกับประเภทของเรือที่ใช้บรรทุกสินค้าในการส่งออกและนำเข้ามีความแตก ต่างกัน โดยสินค้าที่ไทยนำเข้าจากบรูไนฯ ส่วนใหญ่เป็นน้ำมันดิบ ซึ่งต้องใช้เรือในการขนส่งน้ำมันโดยเฉพาะ
นอก จากนั้น สินค้าต่าง ๆ ที่ไทยส่งออกไปยังบรูไนฯ มีจำนวนไม่มากการขนส่งส่วนใหญ่ต้องผ่านการขนถ่ายสินค้าที่สิงคโปร์ก่อน เป็นสาเหตุให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง รวมทั้งยังมีข้อบังคับการนำเข้าสินค้าประเภทอาหารที่เคร่งครัดมาก โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อโค กระบือ แพะ แกะ และไก่ มีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานรับผิดชอบของบรูไนฯ คือ กระทรวงศาสนา (Ministry of Religious Affairs) และกรมเกษตร กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry and Primary Resources) ดำเนินการตรวจสอบโรงงาน ทั้งกระบวนการกรรมวิธีการผลิตและการเก็บรักษา เป็นต้น หากผ่านการตรวจสอบและได้รับการรับรองแล้ว จึงจะสามารถส่งสินค้าไปจำหน่ายในบรูไนฯ ได้ ขั้นตอนเหล่านี้ทำให้เกิดความล่าช้าและไม่คล่องตัวในการนำเข้าสินค้าอาหารไป ยังบรูไนฯ
 



โดย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชยฺ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Disqus Shortname

Comments system