ฟูจิตสึเผยกรณีศึกษาจาก บริษัทแอร์บัส เอส เอ เอส (Airbus S.A.S.) ซึ่งเป็นผู้นำด้านการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้งานในภาคส่วนการผลิตในโครงการริเริ่มที่ทำให้เห็นมอบข้อมูลห่วงโซ่คุณค่า (Value chain initiative) ซึ่งสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจของบริษัทฯ เป็นอย่างมาก การนำเทคโนโลยีการระบุข้อมูลแบบอัตโนมัติ (Automated Identification Technology - AIT) จาก
ฟูจิตสึมาใช้นั้น
ทำให้บริษัทแอร์บัสสามารถแปลงกระบวนการอุตสาหกรรมและชิ้นส่วนอากาศยานทาง
กายภาพเป็นระบบดิจิตอล
พร้อมกับช่วยกระชับวงจรการผลิตเครื่องบินแบบเต็มรูปแบบจากเดิมผลิตในบริษัท
เป็นการขยายการปฏิบัติการระหว่างหน่วยงาน ซึ่งทำให้บริษัทฯ
มีความเข้าใจธุรกิจสำคัญๆ อย่างลึกซึ้งในขณะที่ปฏิบัติงาน “ด้วยเทคโนโลยีอันชาญฉลาดอย่าง RFID* ช่วยให้เราเชื่อมต่อกับชิ้นส่วนเครื่องบิน และช่วยสร้าง Internet of Things ให้
กับแอร์บัส
ซึ่งตรงจุดนี้เองที่ฟูจิตสึเข้ามาช่วยเราติดตามได้ทั้งกระบวนการการสร้างและ
ให้บริการเครื่องบินโดยสารสมัยใหม่ถือเป็นธุรกิจที่มีความซับซ้อน ท้าทาย
และมีต้นทุนที่สูง
บริษัทแอร์บัสเหมือนกับธุรกิจอื่นทั่วไปตรงที่มีการใช้ระบบไอทีเพื่อช่วย
เหลือการปฏิบัติการด้านการผลิต ” Mr. Carlo K. Nizam (นายคาร์โล เค.ไนแซม ) Head of Value Chain Visibility and RFID กล่าว
แต่
อย่างไรก็ดีในอดีตการนำข้อมูลเข้ามาในระบบนั้นมักจะต้องอาศัยกระบวนการทาง
เอกสารเป็นหลัก
และการปฏิบัติการขององค์กรที่มีความซับซ้อนขึ้นส่งผลให้การจัดการกับข้อมูล
เหล่านี้ก็ทวีความยากและกลายเป็นสิ่งที่ท้าทายมากขึ้นตามไปด้วย เมื่อ 40
ปีที่แล้วแอร์บัสผลิตเครื่องบิน 10 ลำต่อปี ในปี 2015 บริษัทฯ
จะมีการผลิตได้ถึง 629 ลำ และจะก้าวถึง 1,000
ลำในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ในปี 2012
แอร์บัสมีการติดตามชิ้นส่วนประกอบเครื่องบินถึง 1.2 ล้านชิ้นต่อปี
และจะเพิ่มขึ้นอีก 5 เท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ภายในปี 2017
โดยชิ้นส่วนประกอบของเครื่องบินนี้มีวงจร ชีวิตยาวนานหลาย 10 ปี
เริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบไปถึงการผลิต
การซ่อมแซมและการกำจัดทิ้งชิ้นส่วนทุกชิ้นต้องมีการจัดการอย่างละเอียด
รอบคอบ นอกจากนี้ความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในวงการการบิน
ดัง
นั้นการติดตามกระบวนการทำงานให้ได้ทุกขั้นตอนนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมาก
การจัดการและการติดตามชิ้นส่วนถือเป็นความท้าทายที่มีความซับซ้อน
และไม่สามารถมีข้อผิดพลาดได้รวมถึงการบำรุงรักษา
เครื่องบินต้องปราศจากความผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง
โดยตลอดอายุการทำงานของเครื่องบินลำหนึ่งนั้นจะมีข้อมูลสะสมเพิ่มขึ้น
เรื่อยๆในส่วนของการผลิตก็มีความท้าทายเช่นกัน
โดยแอร์บัสนั้นได้กระจายการผลิตไปตามภูมิภาคต่างๆ อาทิเช่น เครื่องบิน A380
ทำมาจากส่วนประกอบชิ้นย่อยๆ มาประกอบกันอย่างส่วนหน้า ลำตัว ปีก
และส่วนหาง ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้ทำมาจากโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศฝรั่งเศส
เยอรมัน สเปนและอังกฤษ โดยต้นทุนของการประกอบเครื่องบิน 1 ลำตกอยู่ที่ 428
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
และการจัดเก็บสินค้าก็เป็นส่วนที่มีค่าใช้จ่ายสูงอีกประการหนึ่งปรับกระบวน
การทำงานสู่ระบบดิจิตอลเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายดังกล่าว
การ
มีห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต่อการดำเนินการทางธุรกิจประเภท
นี้แอร์บัสมีการใช้งานเทคโนโลยีระบุข้อมูล ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency Identification - RFID) ใน
วงจรการผลิตทั้งวงจร ทั้งนี้
เพื่อได้เห็นภาพการผลิตอัตโนมัติแบบเรียลไทม์พร้อมกับกระชับกระบวนการทำงาน
และลดของเสีย และช่วยให้มีการผนึกข้อมูล เช่น เลขชิ้นส่วน เลขเครื่อง
วันที่ผลิตและแม้แต่ประวัติการผลิตเข้ากับชิ้นส่วนประกอบเครื่องบินทุกชิ้น
ทั้งในรูปแบบดิจิตอลและอิเล็กทรอนิกส์เครื่องบินรุ่นต่อไปของแอร์บัสอย่าง
รุ่น A350 XWB สร้างขึ้นมาจากส่วนประกอบกว่า 2,000 ชิ้น ซึ่งมีแท็ก RFID ติดมาด้วยทุกชิ้น แอร์บัสได้ขยายให้มีการใช้ชิ้นส่วน RFID แบบ
ถาวร
เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายบอกรายละเอียดกับชิ้นส่วนทุกชิ้นที่ติดตามได้ของ
เครื่องบินทุกลำในตระกูลเครื่องบินของบริษัท และในปี 2014
แอร์บัสได้เปิดตัวโครงการที่จะแทนที่ป้ายชื่อแบบเดิมที่ติดไว้กับส่วนประกอบทุกส่วนที่ผลิตในบริษัท เปลี่ยนมาเป็นป้ายชื่อที่มีRFID อันเป็นมาตรฐานใหม่ โดยนาย Carlo K. Nizam กล่าวไว้ว่า "แอร์บัสมองการดำเนินงานนี้เหมือนกับการสร้างเครื่องบินลำหนึ่งในยุค 80 เราสร้างเครื่องบินพาณิชย์ Fly-by-wire รุ่น A320 และสิ่งที่เราทำตอนนี้เหมือนที่เราสร้างเครื่องบินรุ่นนั้นในตอนนั้น ตอนนี้เรากำลังสร้างห่วงโซ่คุณค่าแบบ Fly-by-wire ซึ่งก็คือห่วงโซ่คุณค่าในรูปแบบดิจิตอลนั่นเอง" แท็ก RFID ที่
ใช้ติดส่วนประกอบเครื่องบินจะต้องมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นสูงในสภาพแวดล้อม
ที่มีความเสี่ยง แต่จะต้องมีน้ำหนักเบา
โดยแท็กของฟูจิตสึนั้นผ่านเกณฑ์การพิจารณาในเรื่องของการทนทานต่อสภาวะที่มี
ความเสี่ยงในทุกๆ ด้าน ส่งผลให้แอร์บัสเลือกฟูจิตสึเป็นผู้จัดหา “ฉลาก RFID" และยังเป็นผู้ให้
บริการโซลูชั่นการเข้ารหัสและการพิมพ์ข้อมูล RFID ด้วย
โดยฟูจิตสึได้รับการคัดเลือกจากการที่บริษัทฯ
มีจุดแข็งในด้านเทคโนโลยีอุปกรณ์กึ่งตัวนำ มีความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบ
และการผลิต RFID พร้อม
กับความสามารถในการให้บริการกับลูกค้าทั่วโลกเพิ่มผลผลิต
ประหยัดเวลาในอดีตการตรวจสอบที่นั่งและชิ้นส่วนพร้อมกับบันทึกหมายเลข
เครื่องและจุดติดตั้งนั้นต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง
ยิ่งไปกว่านั้นข้อมูลจะต้องมีการพิมพ์เข้าระบบด้วยมือ
และต้องมีการตรวจสอบอ้างอิงเพื่อหาความคลาดเคลื่อน แต่ด้วยเทคโนโลยี RFIDกระบวน
การนี้จะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ส่งผลให้มีประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น
และความผิดพลาดที่เกิดจากการพิมพ์ข้อมูลเข้าระบบด้วยมือก็ลดลง นอกจากนี้
ข้อมูลก็สามารถแชร์และตรวจสอบได้ทันที
ท้ายสุดเทคโนโลยีนี้ทำให้เครื่องบินมีชั่วโมงบินที่เพิ่มขึ้นในแง่ของการ
ผลิตยิ่งเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยี RFID มากขึ้น
ส่วน
ประกอบทุกชิ้นได้รับการจัดการและติดตาม ผ่านสายการผลิต
เนื่องจากแอร์บัสสามารถระบุสถานที่การจัดเก็บส่วนประกอบทุกประเภทและสถานะ
ได้ จึงสามารถทำการปรับปรุงการควบคุมชิ้นส่วนให้ดียิ่งขึ้น
ย่นระยะเวลาการจัดหาอุปกรณ์ล่วงหน้า และขจัดการซื้อชิ้นส่วนซ้ำซ้อน
นอกจากนี้ยังมีการลดจำนวนงานค้างและความล่าช้า โดยไม่จำเป็นลงอย่างมาก
โดยประโยชน์ที่เห็นชัดนั้นมาในรูปแบบของผลิตผลที่เพิ่มขึ้นและระยะเวลาการ
ผลิตที่ลดลง ซึ่งหมายถึง
ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าและมีเงินสดหมุนเวียนดีขึ้น
ข้อมูลที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นหมายถึงกระบวนการประกอบสินค้า
นั้นมีปัญหาและความผิดพลาดที่น้อยลง โดยมีการคาดการณ์ว่าเทคโนโลยี RFID จะช่วยลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้าก็ลดลงถึง 20%
นอกจากนี้ RFID ยัง
ก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่จับต้องได้อีกมากมายเช่นกัน กล่าวคือ
ในปัจจุบันแอร์บัสสามารถมองเห็นภาพห่วงโซ่คุณค่าของตนเองได้ในแบบเรียลไทม์
โดยข้อมูลนี้ก่อให้เกิดความเข้าใจภาพการผลิตในแบบลึกซึ้ง
ซึ่งจะสร้างประโยชน์กับธุรกิจในอนาคตอย่างที่ Nizam ได้
ให้ข้อสังเกตไว้ว่า "เมื่อสิ่งต่างๆ เชื่อมต่อกันมักจะมีสิ่งดีๆ
เกิดขึ้นเสมอ
เราสามารถรู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหนและเมื่อไหร่ได้โดยอัตโนมัติแบบเรียลไทม์
ในรูปแบบข้อมูลดิจิตอล"
การปรับใช้โซลูชั่น RFID และเซ็นเซอร์กับอุตสาหกรรมประเภทอื่นในการส่งเสริมการใช้งาน RFID ในวงการการบิน ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานโดยสมาคมการขนส่งทางอากาศแห่งสหรัฐอเมริกา(Air Transport Association of America - ATA) ซึ่งเป็นผู้นำการริเริ่มการจัดทำมาตรฐานรูปแบบข้อมูล RFID โดยฟูจิตสึได้เข้าร่วมคณะทำงานนี้ตั้งแต่ปี 2007 และมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดตั้งมาตรฐาน RFID ที่มีชื่อว่า ATA Spec 2000
โซลูชั่น RFID และเซ็นเซอร์ของฟูจิตสึเป็นโซลูชั่นที่สนับสนุนห่วงโซ่อุปทานในวงการการบิน ฟูจิตสึเป็นผู้ผลิตแท็ก RFID และอุปกรณ์ด้านไอทีที่ใช้ในวงการการบิน รวมถึงเครื่องอ่านที่ใช้อ่านคลื่นความถี่ RFID ที่
มีความแตกต่างในแต่ละประเทศ
และมิดเดิลแวร์ที่ใช้ในการคงสภาพข้อมูลให้สมบูรณ์ ฟูจิตสึ
คือแหล่งรวมโซลูชั่นหนึ่งเดียวที่ครอบคลุมทุกอย่าง
ตั้งแต่การพัฒนาระบบที่สรรค์สร้างให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าไปจน
ถึงการบำรุงรักษา นอกจากนี้
การสนับสนุนธุรกิจทั่วโลกของฟูจิตสึยังช่วยหนุนโครงสร้างพื้นฐานระบบข้อมูล
แบบกระจาย และจากผลงานอันดีของฟูจิตสึในวงการการบิน
จึงทำให้ฟูจิตสึได้ร่วมมือกับพันธมิตรและลูกค้าในอุตสาหกรรมใหญ่ๆทั่วโลก
และมีการให้บริการโซลูชั่น RFID และเซ็นเซอร์ กับอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น