หนังสือพิมพ์ ทรานสปอร์ต เจอร์นัล / คมนาคม ฉบับที่ 801 ประจำวันที่ 16 - 31 มีนาคม 2559 |
จากความเติบโต และเนื้อหอมในอุตสาหกรรมระบบรางของไทยนั้น สะท้อนความเห็นจาก เดวิด อิ๊ทคิ่น กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียนเอ็กซ์ซิบิชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด ที่ระบุว่า จากการผลสำรวจ SmartRail Asia ของซัพพลายเออร์จากต่างประเทศชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็นตลาดที่สำคัญที่สุดในเอเชีย สูงถึง 92.5% ตามมาด้วยมาเลเซีย 69.75%, สิงคโปร์ 65.3%, เวียดนาม 63%, อินโดนีเซีย จีน และอินเดียที่มี 61.8%, ฟิลิปปินส์ 60% และประเทศลาว กัมพูชา และพม่า 53.7% โดยจากการสำรวจในช่วงที่ประเทศไทยได้ประกาศแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ มูลค่า 64 พันล้าน ดอลล่าร์สหรัฐ ที่ตั้งไว้สำหรับการอนุมัติ และจัดซื้อจัดจ้างในปี 2559
ด้วยความสำคัญในตลาดระบบรางนั้น ส่งผลให้ “เอเชียนเอ็กซ์ซิบิชั่น เซอร์วิสเซส” ผนึกกำลัง “โกลบอลทรานสปอร์ตฟอรั่ม” จัดงาน SmartRail Asia 2016 พลิกโฉมใหม่ครั้งใหญ่รับเปิดประตูสู่เซียน และศูนย์กลางโทรคมนาคม โลจิสติกส์ของไทยในภูมิภาคเอเชีย พร้อมเปิดตัว Transport Infrastructure Asia 2016 งานแสดงเทคโนโลยี ทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบขนส่ง งานรถไฟและระบบโครงสร้างพื้นฐานอย่างครบวงจร ทั้งนี้ งาน SmartRail Asia & Transport Infrastructure Asia 2016 ได้รับการสนับสนุนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการเป็นเจ้าภาพร่วมถือเป็นงานแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีรถไฟ และรถไฟใต้ดินที่ใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะจัดขึ้นในวันที่ 1 - 2 ธันวาคม 2559 ณ สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ท ลิงค์ มักกะสัน
นอกจากนี้ ได้มีการปรับรูปแบบใหม่ ด้วยการเปิดตัว Transport Infrastructure Asia 2016 งานแสดงเทคโนโลยี ทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบขนส่ง และระบบโครงสร้างพื้นฐานงานรถไฟอย่างครบวงจรจัดควบคู่กัน ถือเป็นการพัฒนาที่สำคัญมากและเกี่ยวโยงโดยตรง อันเนื่องมาจากเป็นการรวมกลุ่มผู้รับเหมารายใหญ่และซัพพลายเออร์ มาร่วมแสดงอย่างเต็มรูปแบบครบวงจรของอุตสาหกรรมรถไฟ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจในวงกว้าง
อย่างไรก็ตาม ในปี 2016 คาดว่าจะได้รับผลตอบรับจากทั้งผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีอำนาจตัดสินใจมาร่วมงานมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมทางรถไฟในเอเชีย โดยคาดว่าจะมีผู้ร่วมงานเพิ่มขึ้นถึง 40% เนื่องจากมีโครงการที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการในประเทศไทย เพิ่มจากปีที่ผ่านมาที่มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 2,000 คนจากทั่วภูมิภาคเอเชีย โดยมีผู้บริหารระดับสูงของผู้ให้บริการรถไฟจาก 44 ประเทศ ถือว่าเป็นการรวมตัวครั้งใหญ่อย่างไม่เคยมีมาก่อน
โดยงาน SmartRail Asia 2015 ที่ผ่านมามีผู้ร่วมแสดงงานสินค้าจากต่างประเทศ อยู่ในระดับสูงถึง 29.1% โดยผู้ชมงานมาจากต่างประเทศเข้าในเอเชีย นำโดยมาเลเซีย และสิงคโปร์ ตามมาด้วยจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย, ฮ่องกง, ไต้หวัน, พม่า, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, ซาอุดีอาระเบีย, เวียดนาม, โอมาน, กัมพูชา, ปากีสถาน, ลาว,
กาตาร์, บังคลาเทศ, มาเก๊า, คูเวต, อิหร่าน และศรีลังกา ซึ่งผลสำรวจส่วนใหญ่ของผู้เข้าชมงานได้เผยถึงโอกาสทางธุรกิจใหม่เพื่อตอบสนองลูกค้าใหม่อย่างน่าประทับใจสูงถึง 35.4% โดยเป็นผู้ให้บริการด้านรถไฟและผู้ประกอบการ 10.1% ในส่วนนี้มีผู้ซื้อที่เข้าร่วมงานที่มีงบประมาณกว่า $75 million สหรัฐ
ด้าน วุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. กล่าวถึงงาน SmartRail Asia 2016 ว่า การจัดงานดังกล่าว ถือเป็นงานที่สำคัญในระดับภูมิภาค ซึ่งประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางของการคมนาคม โลจิสติกส์ เป็นประตูสู่อาเซียน โดยมีหลายโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ของประเทศไทย ในส่วนของการขนส่งทางรถไฟ โดยมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมที่จะให้การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
ทั้งนี้ งาน SmartRail Asia & Transport Infrastructure Asia 2016 ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ จากกระทรวงคมนาคม หน่วยงานของรัฐต่างๆ ที่จะรวมทั้ง การรถไฟแห่งประเทศไทย, บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท จำกัด, กรุงเทพมหานคร, บีเอ็มซีแอล, บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), มหาวิทยาลัยเนศวร (Nu-RRI) และสำนักส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ หรือ สสปน. ภายใต้การกำกับดูแลของสังกัดสำนักงานนายกรัฐมนตรี ซึ่งงานนี้ได้รับรางวัล ASEAN Raising Tradeshow Award จากปีที่ผ่านมาด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า งาน SmartRail Asia & Transport Infrastructure Asia จัดโดยโกลเบิลทรานสปอร์ตฟอรั่ม (GTF) และAsian Exhibition Services (AES) จำกัด ในกรุงเทพมหานครโดย GTF เป็นหนึ่งในที่ผู้เชี่ยวชาญด้านจัดงานแสดงสินค้ารถไฟชั้นนำจากลอนดอน ซึ่งมีการจัดนิทรรศการและการประชุมอุตสาหกรรมทั่วทวีปยุโรป, สหรัฐอเมริกา และตะวันออกกลาง โดยมี บริษัท เอเชี่ยน เอ็กซ์ซิบิชั่น เซอร์วิสเซส (AES) เป็นพันธมิตรในภูมิภาคเอเชีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น